จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ การประกวดนวัตกรรมอาหารฉายรังสี ภายใต้แนวคิด อาหารพื้นถิ่นไทยพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่ สทน.จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องอาหารฉายรังสี และส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นไทยให้มีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งการแข่งขันรอบสุดท้ายจบลงไปเรียบร้อย คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดและมีแนวโน้มที่จะนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
โดยผู้ได้รับรางวัลมีดังนี้
สำหรับรางวัล รุ่นอุดมศึกษา (ระดับปริญญาตรี) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมใครไม่คัดมังคุดคัด
ผลงานมังคุดคัดฉายรังสี : มหาวิทยาลัยมหิดลผลงานมังคุดคัดซึ่งเป็นของกินขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บได้นาน โดยสีเนื้อของมังคุดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทีมจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นนี้ โดยใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อคงสภาพของผลิตภัณฑ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด สามารถคงความสดได้นานขึ้น ส่งผลให้สินค้าออกสู่ตลาดและเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร
ผลงานของ นางสาวทพย์นภา ศรีอ่อน และนางสาววรรัตน์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์รับเงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ทีม SU POWER UP
ผลงาน ข้าวเหนียวเห็ดหอมสอดไส้น้ำพริกอ่อง : มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ผลงานของ
นางสาวพรทิภา สอดสุข
นางสาวพนิดา ตรีพงษ์พันธ์
นางสาวศิรประภารอดจินดา
รับเงินรางวัล จำนวน 15,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิสอันดับที่2 ได้แก่ทีม ข้าวแต๋น แต่นแตนแต๊น
ผลงาน ข้าวแต๋นปักษ์ใต้ : สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ผลงานของ
นางสาวณิชกานต์ เกตุแก้ว
นายชัชชัย เจริญเล็กอุทัย
นางสาวหนึ่งฤทัย แอร่มหล้า
รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท
รางวัลชมเชยได้แก่ทีม PUTA (ปาทู)
ผลงาน อ่องปูนาฉายรังสี : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผลงานของ
นายภาณุพงษ์ พฤกษชาติ
นางสาวประภัสนัน อ้นอารี
นางสาวอารียา สายบุตร
รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท
รางวัลชมเชยได้แก่ ทีม FMB
ผลงาน ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเนื้อปลาส้มฉายรังสี : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผลงานของ
นายกรพลคมง้าว
นางสาวอภิญญา พวงทวี
นางสาวสุมินา ธรรมกิตติ
รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท
รุ่นบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโทและเอก) ผ่านเข้ารอบ 2 ผลงาน
รางวัลชนะเลิศได้แก่ทีมยิ่งฉายยิ่ง Shine
ผลงานหรอยแรงหนมจีนไม่ไร้น้ำยา : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นการพัฒนาขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ให้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีซึ่งสามารถคงกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องแกงน้ำยาปักษ์ใต้และสามารถยืดอายุเก็บรักษาให้นานขึ้นได้
ผลงานของ
นางสาวรัฐนันท์ติลกกุล
นางสาวศยามลเผือกสีอ่อน
นางสาวณัชชารัตนลือชากุล
รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศได้แก่ทีม MU Innovator
ผลงาน MoldiBean (ผลิตภัณฑ์เทมเป้ถั่วไทยผสม) : มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานของ
นายยศสรัลบุญทาตุ้ย
นางสาวนันทิชาบุรี
นายยุทธพลวงษ์กิติโสภณ
รับเงินรางวัลจำนวน 15,000 บาท
ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกๆทีมค่ะ