เครื่องมือทางนิวเคลียร์

ห้องปฏิบัติการไอโซโทปไฮโดรโลยี

ห้องปฏิบัติการทางด้านไอโซโทปไฮโดรโลยีสามารถพัฒนาไปได้มากไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการกําหนดค่าอายุก็มีอีกหลายเทคนิคเช่น TL Dating, ESR, K-Ar และอื่นๆอีกมากมายนอกจากนั้นยังสามารถนําไปใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆได้อีกถือเป็นอีกแนวทางของการทําวิจัยเพื่อนําไปสู่งานบริการใหม่ๆในอนาคตปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางด้านไอโซโทปไฮโดรโลยีของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดําเนินงานในด้านต่างๆได้แก่

 

การตรวจวิเคราะห์ด้วยคาร์บอน-14

การตรวจวิเคราะห์ด้วยคาร์บอน-14 ในปัจจุบันสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับงานหลายๆด้านเช่น

  1. 1.งานการหาอายุวัตถุโบราณด้วยวิธีคาร์บอน-14
  2. 2.งานทางด้านธรณีวิทยาเช่นงานหาอายุน้ําบาดาล
  3. 3.งานทางด้านการพิสูจน์ปริมาณ Bio based ในผลิตภัณฑ์พลาสติก
  4. 4.งานวิเคราะห์ปริมาณ Bio diesel

 

เทคนิคคาร์บอน-14 ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์อยู่ทั้งหมด 3 วิธีคือ

  1. 1.การดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  2. 2.การสังเคราะห์เบนซิน
  3. 3.การวิเคราะห์โดยใช้ AMS ในห้องปฏิบัติการฯมีอยู่ 2 วิธีคือวิธีที่ 1 และ 2 ซึ่งงานทั้งหมดนี้มีอยู่ที่สทน.องครักษ์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

 

การวิเคราะห์ปริมาณตริเตรียมระดับต่ำในน้ําบาดาล

การวิเคราะห์ปริมาณตริเตรียมระดับต่ําในน้ําบาดาลสามารถนํามากประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้แก่

  1. 1.งานทางด้านธรณีวิทยาเช่นหาอายุของน้ําบาดาลในน้ําที่มีอายุใหม่
  2. 2.งานทางด้านความปลอดภัยตรวจวัดปริมาณตริเตรียมในน้ําฝนเพราะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการติดตามเรื่องการทดลองอาวุธนิวเคลียร์และการปนเปื้อนของตริเตรียมในน้ําฝน
  1. 3.งานตรวจวัดให้กับเอกชน

 

การวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร

การวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียรสามารถนํามากประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้แก่

  1. 1.งานทางด้านธรณีวิทยาเช่นนําไปใช้ในการหาแหล่งที่ของน้ํา
  2. 2.นําไปใช้ในการหาแหล่งที่มาของวัตถุต่างๆหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่นน้ําผลไม้และอื่นๆซึ่งหน่วยงานที่นําไปใช้ประโยชน์มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน