สทน.และกรมศิลปากรจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการมาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า ฟื้นฟูอนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของชาติมีกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ 1) งานวิจัยและพัฒนา 2) การสำรวจวิเคราะห์และเก็บตัวอย่าง 3) การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้จากประโยชน์ได้รับจากการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเมื่อปีพ.ศ.2557 กรมศิลปากรและสทน.จึงเห็นพ้องร่วมกันว่า สมควรที่จะขยายระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการออกไปอีก 5 ปีสำหรับขอบเขตความร่วมมือ กรมศิลปากรและสทน.จะประสานความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งสองฝ่าย ร่วมกันศึกษา วิจัย และพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า ฟื้นฟูและการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุและศิลปวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยสทน.และกรมศิลปากรตกลงร่วมกันในการจัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจนบรรลุผลสำเร็จ
รศ.ดร.ธวัชชัย กล่าวสรุปว่า การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์เข้ามาช่วยในการศึกษาโบราณวัตถุทำให้เราไม่ต้องส่งชิ้นส่วนของโบราณวัตถุไปตรวจสอบอายุในต่างประเทศเช่นในอดีตที่ผ่านมาเป็นเทคโนโลยีที่สามารถดำเนินการได้เองในประเทศไทยการตรวจวิเคราะห์ก็มีความถูกต้องแม่นยำ อีกทั้ง ห้องปฏิบัติการไอโซโทป ของสทน.ยังได้รับการรับรองจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จำนวนหนึ่งจาก IAEA อีกด้วย. สทน.ได้พัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการตลอดเวลาและเชื่อว่าห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมและโบราณคดีของ สทน.มีความทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้